แชร์วิธีปลูกผักสลัดกินเองง่าย ๆ ในพื้นที่จำกัด ใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้น!
หลายคนอาจจะคิดว่า การปลูกผักสลัดจำเป็นต้องเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ โดยเป็นพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึงเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว ผักสลัดที่สดและสะอาด ซึ่งเป็นชนิดที่เรารับประทานกันบ่อย ๆ ก็สามารถเพาะปลูกในพื้นที่จำกัดอย่างบ้านหรือคอนโดได้ โดยใช้อุปกรณ์เพียงไม่กี่ชิ้นก็เพียงพอ ในบทความนี้ Civic Agrotech จะมาแนะนำวิธีปลูกผักสลัดแบบง่าย ๆ ด้วยตัวเองในพื้นที่จำกัดให้ได้ผลลัพธ์ที่น่าพึงพอใจกัน!
สารบัญบทความ
วิธีการปลูกผักสลัดสำหรับคนมีพื้นที่น้อย
สำหรับคนที่มีพื้นที่น้อยแต่ต้องการปลูกผักสลัดไว้รับประทานเองหรือสร้างรายได้เสริม ควรเริ่มต้นจากการสำรวจพื้นที่สำหรับเพาะปลูก เลือกชนิดผักให้เหมาะสมกับพื้นที่เพาะปลูก และจัดเตรียมอุปกรณ์ที่สามารถหาซื้อได้ทั่ว ๆ ไปให้พร้อม โดยวิธีปลูกผักสลัดในพื้นที่น้อยสามารถทำตามได้ง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
ปลูกผักสลัดด้วยฟองน้ำ
ปลูกผักสลัดด้วยฟองน้ำเป็นหนึ่งในวิธีปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ เริ่มแรกของการปลูกผักสลัดด้วยวิธีนี้จะต้องเพาะเมล็ดผักสลัดบนทิชชู่จนเมล็ดเริ่มแตกต้นอ่อนก่อนย้าย ซึ่งจะใช้ระยะเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นจึงย้ายต้นอ่อนลงฟองน้ำโดยมีขั้นตอน ดังนี้
- ใช้ฟองน้ำเนื้อละเอียด กรีดเป็นช่องเพื่อใส่เมล็ดผักสลัด โดยกรีดให้เว้นระยะห่างเท่ากัน
- รดน้ำบนฟองน้ำให้เปียกชุ่ม และนวดฟองน้ำให้ชุ่มน้ำทั่วทั้งแผ่นด้วยการใช้ฝ่ามือกดไล่ฟองอากาศ
- ระมัดระวังอย่าให้ผิวฟองน้ำด้านบนแห้งจนเกินไป
- ย้ายเมล็ดผักสลัดลงช่องที่กรีดบนฟองน้ำโดยใช้แหนบค่อย ๆ หยอดเมล็ดผักลงไปอย่างเบามือ
- ภายใน 1 สัปดาห์ผักสลัดจะเจริญเติบโต หลังมีใบเลี้ยงและรากแก้วจึงค่อยเริ่มแยกผักลงขวดน้ำหรือขึ้นโต๊ะอนุบาล
ปลูกผักสลัดด้วยน้ำและขวดพลาสติก
การปลูกผักสลัดในขวดพลาสติกเป็นหนึ่งในขั้นตอนถัดจากการเพาะเมล็ดผักสลัดด้วยฟองน้ำ โดยมีขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
- นำขวดน้ำขนาด 1500 ml มาล้างให้สะอาด หลังจากนั้น ตัดขวดน้ำในอัตรา 2 ใน 3 ของความสูงขวดโดยวัดระยะจากก้นขวด
- คว่ำฝาขวดซ้อนกับก้นขวดซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยพอดี
- จัดเตรียมน้ำสำหรับเพาะปลูกผักสลัด โดยผสมสารละลายธาตุอาหาร A หรือ B เข้ากับน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เช่น อัตราส่วน 2 cc : น้ำเปล่า 1 L
- นำน้ำที่ผสมกับสารละลายธาตุอาหารเทลงไปก้นขวดน้ำที่เตรียมไว้ หลังจากนั้น ย้ายฟองน้ำและเมล็ดผักสลัดใส่ลงปากขวด
- สังเกตปริมาณน้ำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรปล่อยให้น้ำแห้ง เพราะอาจทำให้ผักสลัดได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและตายได้
ปลูกผักสลัดลงในกระถาง
วิธีปลูกผักสลัดในกระถางเป็นอีกวิธีเพาะปลูกยอดนิยมที่สามารถทำตามได้ง่าย ๆ ซึ่งเป็นการเพาะปลูกผักสลัดลงดินคล้ายกับการปลูกต้นไม้ทั่วไป เหมาะสำหรับพื้นที่มีแสงแดดส่องถึงหรือมีระเบียง โดยมีขั้นตอนปลูกผักสลัดดังนี้
- จัดเตรียมดินสำหรับเพาะเมล็ดผักสลัด ด้วยการนำดินร่วนผสมเข้ากับปุ๋ยคอกและขุยมะพร้าวในอัตรา 1 : 1
- นำดินใส่ในกระถางและรดน้ำให้ชุ่ม หลังจากนั้นพักดินทิ้งไว้ในที่ร่มประมาณ 7 วัน
- นำเมล็ดผักสลัดจำนวน 1-2 เม็ดฝังลงดินในระดับความลึกประมาณ 4 นิ้วแล้วกลบให้มิด หรือเพาะเมล็ดในฟองน้ำก่อนจนต้นอ่อนงอกจึงค่อยย้ายลงดิน
- รดน้ำเช้า-เย็นอย่างสม่ำเสมอ วางกระถางในพื้นที่ที่แสงแดดส่องถึง
- เมื่อปลูกผักสลัดจนถึงช่วงโตเต็มวัย สามารถนำมารับประทานได้เลย
รวมวิธีปลูกผักสลัดออร์แกนิกนอกบ้าน
อีกหนึ่งวิธีเพาะปลูกผักสลัดที่อยากแนะนำสำหรับผู้อาศัยอยู่ในพื้นที่กว้างขวางก็คือ การปลูกผักสลัดที่ผสานเทคโนโลยีเข้ากับอุปกรณ์ทางการเกษตรที่ช่วยให้การปลูกผักเป็นเรื่องง่ายดาย และได้ผลตอบแทนที่มีคุณภาพ ปลอดสารพิษ โดยวิธีเพาะผักสลัดนอกบ้านที่น่าสนใจมีด้วยกันดังนี้
ปลูกผักสลัดลงแปลงดินกินเอง คุณก็ทำได้
การปลูกผักสลัดลงบนแปลงดินขนาดใหญ่เป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถทำได้ง่าย ๆ มีขั้นตอนคล้ายกับการเพาะปลูกในกระถาง แต่แปลงผักควรอยู่ในพื้นที่ที่มีแสงแดด และต้องพรวนดินที่ผสมปุ๋ยคอกกับขุยมะพร้าวให้ละเอียดด้วยการใช้จอบหรืออุปกรณ์พรวนดินอื่น ๆ โดยยกร่องดินให้สูงเพื่อให้ดินกักเก็บน้ำได้ดี
นอกจากนี้ยังสามารถใช้ Rockwool Cube หรือก้อนใยหินแทนปุ๋ยคอกได้เช่นกัน เพราะเป็นอุปกรณ์ทางการเกษตรจากธรรมชาติที่นิยมใช้เพาะปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ซึ่งมีคุณสมบัติกักเก็บน้ำและระบายอากาศได้ดี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ ทางเลือกของการปลูกพืชกินเอง
อีกหนึ่งทางเลือกของการเพาะปลูกผักสลัดกินเองที่บ้านโดยเฉพาะ วิธีการปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์ (Hydroponics) เป็นการปลูกผักแบบไม่ใช้ดิน ใช้เพียงน้ำที่มีการผสมสารละลายที่มีธาตุอาหารสูงเพื่อให้รากดูดสารอาหารเหล่านี้แทน โดยมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวสั้น ประมาณ 40-60 วัน
สำหรับอุปกรณ์สำคัญสำหรับการเพาะปลูกผักสลัดด้วยวิธีนี้ก็คือ LED Grow Light ไฟปลูกต้นไม้ประหยัดพลังงานที่สามารถใช้ทดแทนแสงอาทิตย์ ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของรากและลำต้น ทำให้ได้ผักสลัดใบเขียวสด คุณภาพดี
ปลูกผักสลัดในที่ร่มด้วยระบบ Plant factory
สำหรับการปลูกผักสลัดในพื้นที่ขนาดใหญ่หรือพื้นที่ร่มนั้น สามารถเลือกใช้ระบบ Plant Factory หรือเทคโนโลยีการทำการเกษตรแบบระบบปิดได้เช่นกัน กล่าวคือ เป็นการเพาะปลูกรูปแบบหนึ่งที่สามารถควบคุมสภาพแวดล้อมในการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นปริมาณน้ำ, สภาพอากาศ, ความชื้น หรือแสงแดด ซึ่งช่วยประหยัดทรัพยากรในการเพาะปลูกและควบคุมการผลิตได้เป็นอย่างดี
ปลูกผักสลัดด้วยนวัตกรรมระบบ Smart farm
Smart Farm หรือโรงเรือนการเกษตร เป็นนวัตกรรมการเกษตรแบบใหม่ที่สามารถใช้กับการปลูกผักสลัดได้ ด้วยการผสานเทคโนโลยีกับนวัตกรรมที่ส่งเสริมการเพาะปลูกเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบเซนเซอร์วัดปริมาณน้ำ การใช้โดรนเพื่อการเกษตร หรือการใช้โซลาร์เซลล์ประหยัดพลังงาน เป็นต้น ทำให้การเพาะปลูกมีระบบและเกิดความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
แนะนำผักสลัดนิยมเพาะปลูกที่บ้าน
สำหรับใครที่ยังไม่แน่ใจว่าควรปลูกผักสลัดชนิดไหนดี? เราได้รวบรวมผักสลัดที่เพาะปลูกง่าย โตเร็ว ใช้พื้นที่น้อย มาให้คุณที่ด้านล่างนี้แล้ว ตามไปดูพร้อม ๆ กันเลย!
ผักกาดหอม (Lettuce)
ผักกาดหอมเป็นผักสลัดที่คนส่วนใหญ่นิยมรับประทาน เพราะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ วิตามินเอ วิตามินซี การปลูกผักสลัดชนิดนี้ใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวประมาณ 45-50 วัน สามารถเพาะปลูกผักสลัดในกระถางได้
มินิคอส (Mini Cos)
มินิคอสเป็นผักสลัดที่มีลักษณะใบโดดเด่นไม่เหมือนผักชนิดอื่น ๆ มีรสชาติหวานและกรอบ จึงนิยมนำไปทำซีซาร์สลัด ผักชนิดนี้มีระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-60 วัน หากปลูกผักสลัดมินิคอสในแปลงลงดิน เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวควรนำมาล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนรับประทาน
กรีนโอ๊ค (Green Oak)
กรีนโอ๊ค ผักสลัดใบเขียวอ่อนหรือใบแดง มีลักษณะเป็นพุ่มสวย อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินบี และไฟเบอร์ ช่วยบำรุงประสาท เส้นผม และสายตาได้ดี รสชาติหวาน ทานง่าย การปลูกผักสลัดนี้ใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-45 วัน
ผักกาดแก้ว (Iceberg Lettuce)
ผักกาดแก้วเป็นอีกหนึ่งผักสลัดที่ทานง่าย มีรสชาติหวาน ใบมีลักษณะบางทำให้มอบสัมผัสอ่อนนุ่มเวลาทาน เหมาะสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมน้ำหนัก เพราะสามารถกระตุ้นการขับถ่ายได้ดี การปลูกผักสลัดชนิดนี้สามารถเพาะปลูกได้ในดินทุกชนิด มีระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-60 วัน
ร็อคเก็ต (Rocket)
หนึ่งในผักสลัดที่มีรสชาติปนขมและฉุนเล็กน้อย คนนิยมนำร็อคเก็ตมาทานสดคู่กับน้ำสลัดบัลซามิก ช่วยกระตุ้นการขับถ่ายได้ดี สามารถปลูกผักสลัดนี้ในพื้นที่น้อยได้ โดยมีระยะเวลาเก็บเกี่ยว 40-50 วัน
สภาวะที่เหมาะสมต่อการปลูกผักสลัด
ข้อควรรู้สำคัญในการเพาะปลูกผักสลัดให้ได้คุณภาพดี สะอาด และปลอดภัย หนึ่งในนั้นคือการพิจารณาถึงสภาวะที่เหมาะสมในการเพาะปลูก ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศ, ความชื้น, แสงแดด หรืออุณหภูมิ เนื่องจากผักแต่ละชนิดต่างมีวิธีการเพาะปลูก รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตแตกต่างกัน ดังนั้น ผู้ที่สนใจเพาะปลูกผักสลัดไม่ว่าจะปลูกในพื้นที่จำกัดหรือพื้นที่ทั่วไป จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพาะปลูกให้ละเอียดครบถ้วน รวมถึงพิจารณาสถานที่และค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูก เพื่อผลผลิตที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อการบริโภค
สรุปวิธีการปลูกผักสลัดด้วยตัวเอง
ปัจจุบัน การเพาะปลูกผักสลัดสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยไม่ได้ถูกจำกัดการเพาะปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่เท่านั้น แม้อยู่ในพื้นที่น้อยหรือพื้นที่ร่มอย่างบ้านหรือคอนโด ก็สามารถเพาะปลูกผักสลัดด้วยตนเองกับอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นฟองน้ำ, ขวดพลาสติก, ก้อนใยหิน หรือ LEDs ซึ่งเป็นวิธีเพาะปลูกที่ช่วยให้คุณได้ผักสลัดที่สะอาด ปลอดภัย ทำให้กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับสร้างรายได้เสริมได้อีกด้วย
สำหรับผู้ที่สนใจเพาะปลูกผักสลัดและกำลังมองหาอุปกรณ์ทางการเกษตร Civic AgroTech ผู้นำด้านนวัตกรรมการเกษตรแบบ Indoor เราพร้อมให้คำปรึกษาการปลูกพืชระบบปิดโดยมืออาชีพ และจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ LEDs โดยคุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ช่องทางดังนี้
- Line : @Civic Agrotech
- เบอร์โทรศัพท์ : 02-688-0860
- E-Mail : sales@civicagrotech.com